มหาอำนาจโลกปี 2025: สหรัฐอเมริกา ความแข็งแกร่งท่ามกลางความไม่แน่นอน
มหาอำนาจโลกปี 2025: สหรัฐอเมริกา ความแข็งแกร่งท่ามกลางความไม่แน่นอน
ในปี 2025 ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนในหลายสำนักยังคงให้ความเห็นว่าสหรัฐอเมริกายังคงจะรักษาตำแหน่งหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่กำหนดแนวโน้มเศรษฐกิจโลกอย่างที่เคยเป็นมา ถึงแม้สหรัฐฯ จะเผชิญกับความท้าทายทั้งจากภายในและภายนอก แต่ความหลากหลายในโครงสร้างเศรษฐกิจและความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการเติบโต บทความนี้จะพาไปสำรวจปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ความท้าทายที่ต้องเผชิญ และโอกาสที่อาจกำหนดทิศทางอนาคตของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก
ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2025
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2025 ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะเติบโตในอัตราปานกลางที่ประมาณ 1.8-2% ซึ่งสะท้อนถึงการชะลอตัวจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 อัตราการเติบโตที่ลดลงนี้มีสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนในเหตุการณ์ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ แรงกดดันจากเงินเฟ้อ และต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้นมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่
อย่างไรก็ตาม การบริโภคภายในประเทศซึ่งคิดเป็น 70% ของ GDP ในสหรัฐ ยังคงเป็นเสาหลักสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ธุรกิจในภาคส่วนอย่าง การท่องเที่ยว, ความบันเทิง, และ อีคอมเมิร์ซ ยังคงสะท้อนให้เห็นการเติบโตได้ดี และยังสะท้อนถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เน้นไปที่การซื้อประสบการณ์และความสะดวกสบายในยุคที่ทุกคนมีเวลาน้อยลง
แน่นอนว่าธุรกิจภาคเทคโนโลยียังคงเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้วยความก้าวหน้าทาง ปัญญาประดิษฐ์ (AI), คอมพิวเตอร์ควอนตัม, และ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งไม่ได้เพียงแต่ดึงดูดนักลงทุนและเงินจำนวนมหาศาลเท่านั้น แต่ยังช่วยกระตุ้นการเกิดของนวัตกรรมใหม่และสร้างงานที่มีมูลค่าสูงอีกด้วย
นอกจากนี้ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2021 ก็เริ่มแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาระบบพลังงานสะอาด การคมนาคมสาธารณะ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น การพัฒนาเหล่านี้ไม่เพียงสร้างความยั่งยืนในระยะยาว แต่ยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ชนบทและเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ
-
พลังของการบริโภคภายในประเทศ
อัตราการบริโภคในครัวเรือนยังคงเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้จะมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น แต่การใช้จ่ายของคนเมริกันยังคงแข็งแกร่ง ตัวเลขเหล่านี้มีที่มาจากการจากการจ้างงานที่มั่นคงและการเติบโตของค่าจ้างของคนอเมริกัน โดยกลุ่มธุรกิจในภาคส่วนที่มีความต้องการสูงขึ้นอย่างการเดินทางท่องเที่ยว, สินค้าและบริการดิจิทัล, และ การบริการในบ้าน ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่กำลังมุ่งเน้นไปที่ความสะดวกสบายและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
-
ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี
การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆยังคงเป็นจุดแข็งสำคัญของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ความก้าวหน้าทาง AI ได้ปฏิวัติอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การดูแลสุขภาพและการจัดการห่วงโซ่อุปทานในธุรกิจ หรือจะเป็นคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างไม่เคยมีมาก่อนทั้งในด้านการวิจัยสภาพภูมิอากาศและการวิเคราะห์ทางการเงิน ในขณะเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์ครั้งใหญ่ โดยมี Tesla, Rivian และผู้ผลิตรายใหญ่อื่น ๆ เป็นแนวหน้าในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
-
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครั้งสำคัญของสหรัฐฯ ในยุคนี้ กำลังเปลี่ยนโฉมระบบพื้นฐานของประเทศให้ทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการในอนาคต โดยการพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่
-
- โครงข่ายพลังงานสะอาด ช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และสร้างระบบพลังงานที่ยั่งยืน
- ระบบขนส่งมวลชนและรถไฟความเร็วสูง ช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด ลดมลพิษจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสนับสนุนการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว
- การขยายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ช่วยเชื่อมโยงพื้นที่ชนบทให้เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและโอกาสทางเศรษฐกิจ
โครงการเหล่านี้ไม่เพียงสร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับประเทศ แต่ยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาค ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตในชุมชนชาวอเมริกันที่เคยถูกละเลยให้มีโอกาสเติบโตได้อย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
ความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า
การแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะยังคงดุเดือด แต่จะมีองค์ประกอบของความร่วมมือร่วมอยู่ด้วย ตามที่วิทยากรคนหนึ่งกล่าวในที่ประชุม WEF ที่ประเทศจีน PHOTO: REUTERS
- แรงกดดันทางภูมิรัฐศาสตร์
ความขัดแย้งทางการค้ากับจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและเซมิคอนดักเตอร์(การผลิตชิป) ยังคงสร้างความตึงเครียดในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจนี้ และยังเพิ่มความไม่แน่นอนของบริษัทสหรัฐในตลาดโลก นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลางยังส่งผลให้ราคาพลังงานผันผวน ซึ่งกระทบต่อทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- ความเหลื่อมล้ำทางรายได้
การเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีทำให้เกิดช่องว่างรายได้ระหว่างแรงงานที่มีทักษะสูงและแรงงานที่ขาดทักษะให้ยิ่งเพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจที่เป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีที่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ยังคงเติบโตไปอย่างก้าวกระโดดๆพร้อมๆโอกาสการสร้างรายได้ที่สูงเช่นกัน ในขณะที่ธุรกิจในภาคส่วนแบบดั้งเดิม อย่างเช่น อุตสาหกรรมการผลิตหรือการเกษตร ต้องเผชิญกับความท้าทาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมและความเสมอภาคในระยะยาว
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง เช่น ไฟป่าในแคลิฟอร์เนีย พายุเฮอริเคนในเขตชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก และน้ำท่วมในพื้นที่มิดเวสต์ ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน การเกษตร และตลาดที่อยู่อาศัย แม้สหรัฐฯ จะเป็นผู้นำในการใช้พลังงานหมุนเวียน แต่ภาระทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นในการที่ต้องใช้งบประมาณในการฟื้นฟูความเสียหายยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่สหรัฐอเมริกาต้องจัดการอย่างเร่งด่วน
- ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น
นโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ใช้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของธุรกิจและครัวเรือนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินทุนสูง เช่น อสังหาริมทรัพย์และการผลิต และชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม
โอกาสในอนาคต
- การปฏิวัติพลังงานหมุนเวียน
สหรัฐฯ อยู่ในแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจไปสู่พลังงานหมุนเวียนระดับต้นๆโลก โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมาอย่างต่อเนื่อง ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานผ่านแบตเตอรี่ และระบบเชื้อเพลิงไฮโดรเจนยิ่งเสริมความเป็นผู้นำของพวกเขาในการเปลี่ยนแปลงนี้ พลังงานหมุนเวียนไม่เพียงช่วยสร้างตำแหน่งงานที่มากขึ้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน พร้อมทั้งส่งเสริมความยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย
- เศรษฐกิจแบบดิจิทัล
การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลเปิดโอกาสที่หลากหลายในธุรกิจสมัยใหม่ โดยมีแนวโน้มสำคัญที่น่าจับตามอง ได้แก่:
-
- ฟินเทค (Fintech): ช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนง่ายขึ้น
- อีคอมเมิร์ซที่ขับเคลื่อนด้วย AI: เสนอประสบการณ์การซื้อขายที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
- บล็อกเชน (Blockchain): ยกระดับความปลอดภัยและความโปร่งใสในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
การพัฒนาเหล่านี้กำลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจดั้งเดิม เพิ่มประสิทธิภาพ และขยายโอกาสในการเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ
- การขยายตลาดการค้าโลก
ความสัมพันธ์ทางการค้าที่แน่นแฟ้นกับยุโรปและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกช่วยเปิดประตูสำหรับสินค้าและบริการของสหรัฐฯเพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลเชิงบวกอย่างชัดเจน ได้แก่:
-
- อุตสาหกรรมการบิน: ได้รับแรงหนุนจากความต้องการเดินทางทางอากาศที่ฟื้นตัวหลังจาก Covid-19
- การเกษตร: ใช้เทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูงเพื่อตอบสนองความต้องการด้านความมั่นคงทางอาหารในระดับโลก
- เวชภัณฑ์: ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมในการพัฒนายาและเทคโนโลยีชีวภาพ
การกระจายตลาดส่งออกช่วยลดการพึ่งพาภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง และเพิ่มความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจท่ามกลางความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์.
บทบาทของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการรักษาสมดุลเศรษฐกิจ
ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve) เจอโรม พาวเวลล์ กล่าวสุนทรพจน์ที่กรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม Photo: Getty Images
ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Federal Reserve ถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีเป้าหมายหลักคือการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งธนาคารกลางตั้งเป้าไว้ที่ 2%
นอกจากการดูแลเงินเฟ้อแล้ว ธนาคารกลางยังมีหน้าที่สำคัญในการลดความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตลาดแรงงานและระบบการเงินโดยรวม
เครื่องมือที่ธนาคารกลางนำมาใช้มีหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการปรับเปลี่ยน "อัตราดอกเบี้ย" เพื่อกระตุ้นหรือชะลอการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ และอีกหนึ่งมาตรการสำคัญ คือ Quantitative Easing หรือ QE ซึ่งเป็นการเพิ่มสภาพคล่องในตลาดการเงิน เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพในช่วงที่เกิดความผันผวน
ดังนั้น บทบาทของธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้มีเพียงการควบคุมเงินเฟ้อหรืออัตราดอกเบี้ยเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพในระยะยาวอีกด้วย
แนวโน้มการลงทุนและความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามอง
-
ตลาดหุ้นยังคงแข็งแกร่ง
ภาคเทคโนโลยีและสุขภาพยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของดัชนี S&P 500 ด้วยผลประกอบการที่แข็งแกร่งและนวัตกรรมที่ไม่หยุดยั้ง
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงมีความระมัดระวัง เนื่องจากความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลก รวมถึงความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในระยะสั้น
-
โอกาสในพลังงานสะอาด
พลังงานหมุนเวียนกลายเป็นจุดหมายสำคัญของนักลงทุนระยะยาว ด้วยผลตอบแทนที่มั่นคงและการสอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนระดับโลก
โครงการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และเทคโนโลยีไฮโดรเจน เป็นตัวเลือกที่โดดเด่น และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในอีกหลายปีข้างหน้า
-
การเปลี่ยนแปลงในภาคอสังหาริมทรัพย์
ความต้องการในอสังหาริมทรัพย์ทั้งในเมืองและชานเมืองยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ เช่น ระบบขนส่งสาธารณะและโครงการพลังงานสีเขียว
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการเติบโตในธุรกิจภาคนี้
บทสรุป
ในปี 2025 เศรษฐกิจสหรัฐฯ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับตัวและเติบโตในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี ความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน และตัวเลขการบริโภคภายในประเทศที่ยังมั่นคง ล้วนเป็นจุดเด่นที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่สำคัญ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่รัฐบาลสหรัฐจำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างรอบคอบเพื่อให้เศรษฐกิจยังคงมีเสถียรภาพในระยะยาว
หากสหรัฐฯ สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างเหมาะสม แน่นอนว่าประเทศมหาอำนาจนี้จะยังคงรักษาความเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลก และก้าวไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น
หมายเหตุ: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลสำหรับการศึกษาในเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน